วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันที่ 15/02/2554

- วันนี้เป็นสุดท้ายของการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานทุกอย่างให้ครบ เเละได้ตรวจสอบงานของนักศึกษาที่ส่งไปเเล้ว ว่ามีหรือไม่ หรือขาดงานอะไรบ้าง รวมทั้งได้นัดสอบปลายภาคนอกตาราง ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00น. ที่คณะศึกษาศาสตร์

- ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ ที่คอยดูเเลช่วยเหลือให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ดิฉันจะเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในอนาคตค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันที่ 08/02/2554

อาจารย์ให้ทำเเบบทดสอบ เรื่อง การจัดสภาพเเวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายกับเด็ก ดังหัวข้อต่อไปนี้


การจัดสภาพเเวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
มุมที่ดีควรลักษณะอย่างไร
1. มุมบ้าน
2. มุมหมอ
3. มุมร้านค้า
4. มุมจราจร


ข้อคิดสำหรับการเรียนภาษาในวันนี้

เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อม หรือความสนใจ
1. สอนเเบบเป็นธรรมชาติ
2. สอนอย่างมีความหมาย
3. สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
4. สอนให้เด็กรู้สึกสนุก เเละอยากเรียน
5. ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน


เทคนิคที่ไม่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
1. เน้นความจำ
2. เน้นการฝึก
3. ใช้การทดสอบ
4. การตีตราเด็ก
5. ไม่ยอมรับความผิดพลาด
6. สอนภาษาเฉพาะเวลาที่กำหนด
7. ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ


เทคนิคที่ควร นำมาใช้ในการสอนภาษา
1. สอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติ
2. สอนสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
3. บูรณาการเข้ากับสาขาอื่น
4. ใช้ความคิดเห็นเเละถ้อยคำของเด็ก
5. ยอมรับความคาดเดาของเด็ก
6. ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจ สนุกสนาน


อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย เเล้วให้วิเคราะห์ว่าฟังเเล้วรู้สึกอย่างไร เเละในเนื้อเพลงต้องการบอกอะไร

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 01/02/2554

ความรู้ที่ได้รับวันนี้

ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ การอ่านตามลำฟัง การอ่านเป็นคู่ การอ่านเป็นกลุ่มย่อย โดยเฉพาะการอ่านระหว่างครูกับเด็ก การเขียนร่วมกัน

ลักษณะสำคัญของภาษาเเบบองค์รวม
1. อ่าน - เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อหามากกว่าการท่องจำหนังสือผ่านการเล่านิทาน หรือ สนทนา
การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน เเละการสะกด โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน หรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก
- ครูเเนะนำเเละสอนการอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่
ให้เด็กเเบ่งเป็นกลุ่มเล็ก เเละผลัดกันอ่านออกเสียง
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมาย มีวิธีการใช้หนังสือ หรือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
เปิดโอกาสให้เด็กได้คุย ซักถามประสบการณ์เดิมจากครู
ให้เด็กได้อ่าน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนจากประสบการณ์เดิม


2. พูด - เขียน
- เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับคำ เเละเพิ่มพูนในด้านการพูด
การพูดคุยกับพ่อเเม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์ต่างๆต้องมีความสำคัญกับเด็ก
ส่งเสริมพัฒนาการ คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
- เด็กจะมองตามตัวหนังสือ จะหาความหมายจากภาพ


3. ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นเเรก : คำเเรกที่เด็กอ่านออกมาเป็นคำ มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น คน สัตว์ สิ่งของ
ขั้นสอง : ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก เเละเรียนรู้ที่อยู่ตำเเหน่งของตัวอักษร
ขั้นสาม : เด็กเเยกเเยะการใช้ตัวอักษร เเละจัดระเบียบเเบบเเผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา เด็กเริ่มรู้จักรูปร่างเเละระบบของตัวอักษรมากขึ้น
ขั้นสุดท้าย : ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน


4. การรับรู้เเละพัฒนาการด้านภาษาของเด็กก่อนวันเรียน
ระยะเเรก : เด็กเริ่มเเยกเเยะความเเตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ ที่ใช้เเทนอักษรเเละที่ไม่ใช่อักษร เด็กจะใช้ลัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นเเทนอักษร โดยเเต่ละอักษรมีลักษณะที่เเตกต่างกัน
ระยะที่สอง : การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดเเต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มเเสดงความเเตกต่างของข้อความเเต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เด็กเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนคำเเละความหมาย
ระยะที่สาม : เด็กเริ่มใช้ลักษณะการออกเสียง


5. การจัดสภาพเเวดล้อม
- การจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระเเละกิจกรรม โดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนให้มีความตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ของเด็ก
สร้างประสบการณ์เเละความพร้อมในการเรียนของเเต่ละบุคคล หรือเเต่ละกลุ่มตามความสนใจ
สภาพเเวดล้อมในห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน


6. กระบวนการเรียนรู้เเบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
- ครูจะต้องมีความเชื่อมั่นเเละไว้วางใจในตัวเด็กว่าสามารถทำงานต่างๆได้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเด็กมีความสนใจ ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 25/01/2554

วันนี้อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันร่วมกันร้องเพลงดังนี้

เพลง สวัสดี
สวัสดี สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน พบกันสวัสดี

เพลง ชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา

เพลง แปรงฟัน
แปรงสิ แปรง แปรง ฟัน ฟัน หนู สวย สะอาดดี
แปรงขึ้น แปรงลง ทุกซี่ สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน


เพลง แมงมุมลายตัวนั้น
แมงมุมลายตัวนั้นลายตัวนั้น ฉันเห็นมันชนซามเหลือทน
วันหนึ่งมันเปียกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลิบตา
มันรับไต่ขึ้นฝา หันหลังมาทำตาลุกวาว

เพลง บ้านของฉัน
บ้านของฉัน อยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ลุง ป้า ปู่ ย่า ตา ยาย
มีทั้ง น้า อานี่ และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง อย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันที่ 18/01/2554

- อาจารย์ให้คิดคำขึ้นมา 1 คำ เเล้วเรียกชื่อเพื่อนให้ตอบเป็นคำที่ต้องคล้องจองกับคำที่เราคิดขึ้นมา เช่น ถ้าเราบอกว่า หนาว เพื่อนอาจจะตอบว่า หาว เป็นต้น

เมื่อพูดถึงคำเหล่านี้จะนึกถึงเหตุการณ์อะไร?

- ขำ
- เเปลกใจ
- ดีใจ
- เสียใจ
- ตกใจ
- หงุดหงิด
- เศร้า
- อาจารย์เเจกกระดาษคนละ 1 เเผ่น ให้เขียนเเผงผังครอบครัว หลังจากนั้นให้นักศึกษาออกไปทีละเเถว เเละทำตามที่อาจารย์บอก
ถ้าไม่มีคำว่าจันทรเกษมไม่ต้องทำอะไร เช่น จันเกษมเต้น เราก็ต้องเต้น ถ้าสั่งให้เต้น โดยไม่มีคำว่าจันทรเกษม เราก็ไม่ต้องทำ
ให้ทำตรงข้ามกับคำสั่ง เช่น ถ้าอาจารย์สั่งให้นั่งลง เราก็ต้องยืนขึ้น สั่งให้หันไปทางซ้าย เราก็ต้องหันไปทางขวา
อยากบอกอะไร ให้กระซิบต่อๆกันไปจนถึงคนสุดท้าย เเล้วคนสุดท้ายก็บอกอาจารย์
อาจารย์เเจกกระดาษให้คนละ 1 เเผ่น วาดรูปอะไรก็ได้ เเล้วให้เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่เราวาด โดยต้องเชื่อมโยงกับเพื่อนทุกคน


ร้องเพลง
เพลง ขอบใจ

เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ

หนูๆควรต้องนึกถึงพระคุณ

น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ

เพื่อนมีใจเผื่อเเผ่การุณ

นึกถึงบุญคุณกล่าวคำ " ขอบใจ "

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 15/01/2554

วันนี้อาจารย์นัดเรียนชดเชย

ความรู้ที่ได้รับ

- ระยะเเยกเเยะ อายุ 6 เดือน - 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มเเยกเเยะสิ่งที่เขาได้ยิน เช่น เสียงพูดของเเม่

- ระยะเลียนเเบบ อายุ 1 - 2 ปี เสียงที่อยู่ในสภาพเเวดล้อม โดยเฉพาะเสียงที่คนใกล้ชิด เป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจเเละเริ่มเลียนเเบบ เสียงที่เด็กเปล่งออกมาจะเริ่มมีความหมายเเละเเสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินของผู้อื่น

- ระยะขยาย อายุ 2 - 4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยการเปล่งเสียงออกเป็นคำ โดยระยะเเรกจะพูดโดยเรียกชื่อของคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำพูดที่ผู้ใหญ่พูดกัน

- ระยะโครงการ 4 - 5 ปี การรับรู้หรือการสังเกตของเด็กวัยนี้จะดีขึ้นมาก ซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลรอบข้างเเละนำมาทดลองใช้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ จากการฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ การเล่นกับเพื่อน หรือพี่น้อง การพูดคุยกับผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กเก็บข้อมูลทางภาษาเพิ่มขึ้น

- ระยะตอบสนอง อายุ 5 - 6 ปี ได้พัฒนาทางภาษา ได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่ม รู้จักการใช้ประโยคเป็นระบบตามหลักไวยกรณ์

- ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะสามารถพัฒนาทางภาษาได้ดีมากขึ้น สามารถจดจำด้านภาษามากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนความหมายลึกซึ้งได้ เด็กจะสามารถพัฒนาการวิเคราะห์เเละสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น

การเรียนภาษาเป็นกระบวนการต่อเนื่อง เด็กจะเรียนภาษาพูดเเละกฎเกฎฑ์ต่างๆจากการ
ฟังเสียง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 04/01/2554

วันนี้กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอปริศนาคำท้ายเป็นหนังสือ big book ในเพื่อนๆในห้องฟัง และให้เพื่อนๆติชมว่างานเป็นอย่างไรบ้าง ควรปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง จากนั้นอาจารย์ก็ให้กลุ่มของดิฉันนำปริศนาคำท้ายไปเล่าให้เด็กฟัง

อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมส่มเสริมทักษะทางภาษาดังนี้

- โฆษณา
- ประชาสัมพันธ์
- ประกาศ
- ของรักของหวง
- เล่าเรื่องจากภาพ
- เล่าประสบการณ์