วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันที่09/11/2553

วันนี้ออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยกลุ่มของดิฉันออกเป็นกลุ่มแรกและนำเสนองานในรูปแบบของนิทานเรื่องภาษา และกลุ่มอื่นๆก็ออกนำเสนอต่อๆกันจนครบทุกกลุ่ม และเมื่อนำเสนองานเสร็จอาจารย์ก็มีงานชิ้นที่ 2 ให้ทำโดยอาจารย์มีหัวข้อมาให้โดยมีหัวข้อ ดังนี้
โฆษณา
ประกาศ
ของรักของหวง
เล่าเรื่องจากภาพ
เล่าเรื่องจากประสบการณ์จริง
ประชาสัมพันธ์
กลุ่มดิฉันได้หัวข้อเรื่อง โฆษณา


เพิ่มเติม
ความหมายของภาษา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)
1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด
2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ
4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น